Unlock Potential! เหตุผลที่องค์กรของคุณควรออกแบบการ์ดเกม Training เป็นของตัวเอง
BASE Playhouse จะพาคุณไปรู้จักว่าการ์ดเกม มีอะไรบ้าง และที่สำคัญที่สุดคือ ทำไมองค์กรยุคใหม่ถึงเลือกใช้การออกแบบการ์ดเกมในการฝึกอบรมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มาค้นหาคำตอบไปพร้อม ๆ กัน!

Unlock Potential! เหตุผลที่องค์กรของคุณควรออกแบบการ์ดเกม Training เป็นของตัวเอง
การพัฒนาศักยภาพของพนักงานภายในองค์กรให้กลายเป็น Talent เป็นหัวใจสำคัญของการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งแน่นอนว่าในยุคสมัยที่การเรียนรู้ทำได้เพียงปลายนิ้วคลิก การเรียนรู้แบบเดิม ๆ อย่างการนั่งฟังวิทยากรบรรยายสไลด์ไปเรื่อย ๆ ย่อมไม่ตอบโจทย์อีกต่อไป องค์กรชั้นนำระดับประเทศจึงต้องหาเทคนิคใหม่เพื่อกระตุ้นความสนใจและความกระตือรือร้นในการเรียนรู้อย่าง “การออกแบบการ์ดเกม” ที่สามารถสร้างการมีส่วนร่วมและดึงศักยภาพของพนักงานออกมาได้อย่างแท้จริง จนกลายเป็นเครื่องมือที่ได้รับความนิยมสำหรับการ Training และมาแรงที่สุดในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
หลาย ๆ คนอาจจะคุ้นเคยกับการ์ดเกม วิจัยบอกว่าเป็นของเล่นเสริมพัฒนาการเด็กหรือของเล่นเพื่อความบันเทิงสำหรับผู้ใหญ่ แต่ในโลกของการ Training นั้น การออกแบบการ์ดเกมสำหรับอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ ได้ถูกออกแบบใหม่โดยเฉพาะ เนื่องจากต้องออกแบบการ์ดเกมโดยผสมผสานศาสตร์แห่งจิตวิทยา ศาสตร์แห่งเกมกระดาน และศาสตร์แห่งการเรียนรู้ เข้าไว้ด้วยกันอย่างเหมาะสมและลงตัวมากที่สุด เพื่อให้กลายมาเป็นการ์ดเกม วิจัยสำหรับการเรียนรู้ การฝึกฝนทักษะ และการเสริมสร้างความคิดอย่างสร้างสรรค์
ในบทความนี้ BASE Playhouse จะพาคุณไปรู้จักว่าการ์ดเกม มีอะไรบ้าง และที่สำคัญที่สุดคือ ทำไมองค์กรยุคใหม่ถึงเลือกใช้การออกแบบการ์ดเกมในการฝึกอบรมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มาค้นหาคำตอบไปพร้อม ๆ กัน!
การ์ดเกม มีอะไรบ้าง? แล้วแบบไหนเหมาะกับองค์กรคุณที่สุด
หากพูดถึงการ์ดเกมให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ เกมที่ใช้ “การ์ด” เป็นอุปกรณ์หลักในการเล่น โดยการ์ดแต่ละใบจะมีข้อมูล กติกา หรือสัญลักษณ์เฉพาะที่กำหนดการกระทำของผู้เล่น เช่น แต้ม คำสั่ง ภาพประกอบ หรือคำถามต่าง ๆ ซึ่งสามารถเล่นได้ทั้งแบบเดี่ยวและแบบกลุ่ม รวมถึงถูกออกแบบมาให้มีหลากหลายประเภท ตั้งแต่การ์ดเกมเพื่อความบันเทิง ไปจนถึงการ์ดเกมเพื่อการเรียนรู้หรือฝึกฝนทักษะ
ซึ่งการออกแบบการ์ดเกมสำหรับ Training เป็นการ์ดเกม วิจัยออกมาเพื่อใช้สำหรับการอบรม การพัฒนาทักษะ หรือการ Coaching ภายในองค์กรโดยเฉพาะ โดยเน้นการเรียนรู้ผ่านการมีส่วนร่วม (Experiential Learning) เป็นหลัก

1. การ์ดเกมฝึกการคิดวิเคราะห์และการตัดสินใจ
ตัวอย่างคำตอบข้อแรกของคำถามการ์ดเกม มีอะไรบ้าง? คือ การ์ดเกมฝึกการคิดวิเคราะห์และการตัดสินใจ หรือ Critical Thinking & Decision-Making Card Game ซึ่งเป็นการออกแบบการ์ดเกมเพื่อช่วยฝึกทักษะการวิเคราะห์ข้อมูล ฝึกการแยกแยะประเด็นใหญ่ ๆ ให้กลายเป็นประเด็นย่อย ๆ แต่ได้ใจความสำคัญ ฝึกการเปิดใจรับฟังมุมมองที่แตกต่างและหลากหลาย และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ฝึกการตัดสินใจภายใต้สถานการณ์ที่กดดันและมีข้อจำกัดที่ไม่แน่นอน
การ์ดเกมฝึกการคิดวิเคราะห์และการตัดสินใจ เป็นการ์ดเกม วิจัยออกมาแล้วว่าเหมาะกับการฝึก “กระบวนการคิด” เนื่องจากวัตถุประสงค์ของการเล่นการ์ดเกมประเภทนี้ ไม่ได้ต้องการคำตอบที่ถูกต้องจากผู้เล่น แต่ต้องการให้ผู้เล่นได้เรียนรู้วิธีการคิดและความรอบคอบในการตัดสินใจ เพื่อฝึกฝนความกล้าและความมั่นใจเมื่อต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงอย่างไม่ทันตั้งตัว
ตัวอย่างการ์ดเกมฝึกการคิดวิเคราะห์และการตัดสินใจ การออกแบบการ์ดเกมทางเลือก หรือ Decision Card โดยสร้างสถานการณ์ซึ่งเป็นปัญหาและทางเลือกในการตัดสินใจ 3 - 4 ทาง จากนั้นให้ผู้เล่นตัดสินใจเลือกทางเลือกในการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดพร้อมอธิบายเหตุผล เช่น หากคุณมีงบการตลาดจำกัด คุณจะเลือกทำการตลาดด้วยวิธีใด A) ทำโฆษณา B) ทำโปรโมชั่น C) จัดกิจกรรม หรือ D) สำรวจลูกค้า
2. การ์ดเกมพัฒนาความเป็นทีม
ตัวอย่างคำตอบข้อที่สองของคำถามการ์ดเกม มีอะไรบ้าง? คือ การ์ดเกมพัฒนาความเป็นทีม หรือ Teamwork & Collaboration Card Game ซึ่งเป็นการ์ดเกม วิจัยออกมาว่าเหมาะสำหรับนำมาเป็นเครื่องมือพัฒนาศักยภาพของพนักงานภายในองค์กร โดยเน้นการฝึกฝนทักษะการทำงานร่วมกันให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เนื่องจากการออกแบบการ์ดเกมออกแบบให้ผู้เล่นจำเป็นต้องสื่อสารและร่วมมือกันจัดการกับปัญหาและอุปสรรคผ่านสถานการณ์จำลองที่กำหนดขึ้น ซึ่งทำให้ผู้เล่นได้เรียนรู้ความแตกต่างซึ่งกันและกันและค่อย ๆ เปิดใจเข้าหากันอย่างเป็นธรรมชาติ
การ์ดเกมพัฒนาความเป็นทีม มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการทำงานร่วมกัน กระตุ้นให้เกิดความรู้สึกของการเป็น “ทีม” และเป็น “เจ้าของความสำเร็จ” ตั้งแต่การเสนอความคิดเห็นเพื่อจัดการปัญหา การแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ และการประสานงานเพื่อจัดการกระบวนการแก้ปัญหาให้ผ่านไปอย่างราบรื่น เพราะเมื่อต้องทำงานร่วมกันภายใต้เงื่อนไขต่าง ๆ ที่ถูกกำหนดไว้ ผู้เล่นจะเรียนรู้ที่จะพึ่งพาและเชื่อใจกัน
ตัวอย่างการ์ดเกมพัฒนาความเป็นทีม การออกแบบการ์ดเกมสถานการณ์ หรือ Scenario Card โดยสร้างสถานการณ์จำลองเพื่อให้ผู้เล่นซึ่งเป็นสมาชิกภายในทีมต้อง “ช่วยกัน” รับมือ เช่น โปรเจกต์ที่ทีมรับผิดชอบอยู่ล่าช้ากว่ากำหนดมาก เนื่องจากสมาชิกคนหนึ่งส่งงานช้าเป็นประจำ สมาชิกภายในทีมจะมีวิธีการรับมืออย่างไรโดยไม่กระทบความสัมพันธ์? และจะป้องกันไม่ให้เรื่องเหล่านี้เกิดขึ้นซ้ำ ๆ ในอนาคตได้อย่างไร?
3. การ์ดเกมฝึกทักษะการสื่อสาร
ตัวอย่างคำตอบข้อสุดท้ายของคำถามการ์ดเกม มีอะไรบ้าง? คือ การ์ดเกมฝึกทักษะการสื่อสาร หรือ Communication Card Game เป็นการ์ดเกมฝึกทักษะการสื่อสาร โดยฝึกตั้งแต่พูดอย่างมีประสิทธิภาพ การฟังอย่างตั้งใจ การทำความเข้าใจความแตกต่างในการสื่อสารระหว่างบุคคล ส่งเสริมการฟีดแบ็กอย่างสร้างสรรค์ เพื่อลดความเข้าใจผิดจากการตั้งคำถามหรือแสดงความคิดเห็นที่อาจจะรุนแรงจนสร้างความขุ่นเคืองใจ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของความขัดแย้งภายในทีม
การ์ดเกมฝึกทักษะการสื่อสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภายในทีม ทั้งการสื่อสารเพื่อนำเสนอความคิดเห็นของตัวเองและการตั้งใจรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนร่วมทีม สร้างความไว้วางใจและความสามัคคีระหว่างผู้เล่นจนเกิดเป็นพื้นที่ปลอดภัย ผู้เล่นกล้าคิด กล้าพูด กล้าลงมือทำ และกล้าตัดสินใจโดยปราศจากความลังเล ลดความขัดแย้งจากการเข้าใจผิดเพราะสื่อสารกันด้วยวิธีการที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งส่งผลให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ตัวอย่างการ์ดเกมฝึกทักษะการสื่อสาร การออกแบบการ์ดเกมบทบาท หรือ Role-Play Card โดยสลับกันสวมบทบาทเป็นหัวหน้า เพื่อนร่วมทีม หรือลูกค้า จากนั้นฝึกพูดคุยเพื่อจัดการปัญหาและอุปสรรคตามสถานการณ์จำลองที่กำหนดไว้ให้ผ่านพ้นไปอย่างราบรื่นภายใต้ข้อจำกัด "ทุกคนจะต้องพึงพอใจผลสรุปของการตัดสินใจร่วมกัน"

เปิดข้อดีของการออกแบบการ์ดเกมที่ใช่ให้เข้ากับสไตล์ที่ชอบ
1. กระตุ้นการพัฒนาทักษะอย่างเป็นธรรมชาติ
ข้อดีข้อแรกของการออกแบบการ์ดเกมให้เข้ากับองค์กร คือ ช่วยกระตุ้นการพัฒนาทักษะของพนักงานภายในองค์กรอย่างเป็นธรรมชาติ เนื่องจากการ์ดเกมมีเรื่องราวและวิธีการเล่นหลากหลายรูปแบบให้เลือกสรรตามสไตล์ของผู้เล่น ผู้เล่นบางคนชอบการแข่งขัน ชอบการเอาชนะ ชอบเป็นที่หนึ่ง หรือผู้เล่นบางคนชอบการเล่นเป็นทีม ช่วยกันคิดช่วยกันหาทางออก การออกแบบการ์ดเกมให้เข้ากับองค์กรและพนักงานภายในองค์กรโดยเฉพาะจึงเป็นสิ่งที่ดีที่สุด เพราะจะทำให้ผู้เล่นรู้สึกสนุกและจดจ่อกับกิจกรรมตรงหน้าได้มากขึ้น โดยไม่รู้สึกว่าตัวเองกำลังถูก “ฝึก” ให้พัฒนาทักษะต่าง ๆ
2. สร้างการมีส่วนร่วมของพนักงานภายในองค์กร
ข้อดีข้อที่สองของการออกแบบการ์ดเกมให้เข้ากับองค์กร คือ ช่วยสร้างการมีส่วนร่วมของพนักงานภายในองค์กร อย่างที่กล่าวไปว่า สไตล์การเรียนรู้ของมนุษย์แต่ละคนย่อมแตกต่างกัน การออกแบบการ์ดเกมให้กับเข้าสิ่งที่องค์กรต้องการจึงตอบโจทย์พนักงานได้ทุกประเภทและเป็นแรงจูงใจให้อยากมีส่วนร่วมในการ Training ครั้งนั้น เช่น พนักงานสายลงมือทำ ควรเลือกใช้การ์ดเกมแบบภารกิจ พนักงานสายคิดวิเคราะห์ ควรเลือกใช้การ์ดเกมแบบจำลองสถานการณ์ซับซ้อน หรือพนักงานสายเล่าเรื่อง ควรเลือกใช้การ์ดเกมแบบ Role-Play Card เพื่อให้ได้แสดงออกอย่างเต็มที่
3. ลดความเครียดในการ Training
ข้อดีข้อสุดท้ายของการออกแบบการ์ดเกมให้เข้ากับองค์กร คือ ลดความเครียดในการ Training เมื่อการออกแบบการ์ดเกมถูกออกแบบให้เข้ากับบริบท วัฒนธรรม และลักษณะขององค์กร เช่น ใช้ภาษาที่คุ้นเคย หรือสถานการณ์ที่สะท้อนชีวิตจริงของพนักงาน จะช่วยให้ผู้เรียนรู้สึก “ผ่อนคลาย” ไม่รู้สึกว่ากำลังถูกประเมินหรือสอนอย่างเคร่งเครียด การ์ดเกมที่ถูกออกแบบอย่างเหมาะสมจะทำให้การเรียนรู้เป็นเรื่องสนุกและตื่นเต้น ซึ่งส่งผลให้ผู้เล่นกล้าแสดงออกมากขึ้น
การออกแบบการ์ดเกม Training ให้สอดคล้องกับสไตล์การเรียนรู้ของพนักงานภายในองค์กรและบริบทขององค์กร ถือเป็นกลยุทธ์สำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน เพราะไม่เพียงแต่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ แต่ยังทำให้กระบวนการเรียนรู้เป็นธรรมชาติ สนุก และไม่เคร่งเครียดจนเกินไป
Gamification ที่ “ใช่” จะช่วยกระตุ้นให้ผู้เข้าอบรมได้คิด วิเคราะห์ สื่อสาร และร่วมมือกันอย่างแท้จริง ภายใต้บรรยากาศที่เปิดใจและเป็นมิตร ทำให้การพัฒนา Soft Skills เกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติและยั่งยืน
หากคุณกำลังมองหาเครื่องมือ Training ที่แตกต่าง และได้รับการวิจัยรองรับแล้วว่าสนุก ตื่นเต้น กระตุ้นการเรียนรู้ และได้ผลลัพธ์จริง Gamification Design Solution คือคำตอบ! ปรึกษาทีม BASE Playhouse เพื่อเริ่มต้นออกแบบการ์ดเกมที่ใช่สำหรับองค์กรของคุณได้เลยทันที!
อ้างอิงจาก
In House Training ยุคใหม่: สร้างประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยี, The BLACKSMITH
แนะนำบริการ Gamification Design Solution

ปัญหาของ HR เวลาออกแบบระบบใหม่ให้องค์กร พนักงานจำไม่เคยได้ เวลาให้ Engage ก็ไม่ค่อยจะมา แถมพอพนักงานใหม่มาก็ต้อง Onboard ซ้ำ ๆ จำสูตรเดิมไม่ได้ แถมยังขาดคนเก่ง ๆ เรื่องโน้นนี้อีกเพียบGamification Design Solution เป็น Game & Toolkit ที่จะมาช่วยสร้างประสบการณ์เรียนรู้ที่น่าดึงดูด พนักงานอยากมีส่วนร่วมมากกว่าที่ไหนแน่นอน
4 Core Service
- Core Value & Culture Intervention สำหรับองค์กรที่เน้นเรื่องส่งเสริมค่านิยมกับวัฒนธรรมองค์กรโดยเฉพาะ
- Mindset & Skill Development สิ่งนี้จะช่วยพัฒนากระบวนการคิดและทักษะใหม่ ๆ สำหรับพนักงานที่องค์กรต้องการให้ครบ
- Job Onboarding หัวข้อนี้จะดีสำหรับพนักงานใหม่มาก เพราะจะช่วย Onboard ให้แบบเป็นระบบ สนุก น่าจดจำ พนักงานชอบจริง
- Brand Engagement ตามชื่อหัวข้อ เพราะจะช่วยดึงให้พนักงานเข้ามามี Engage กับองค์กรมากขึ้นกว่าเดิมมาก
รับประกันคุณภาพโดย Learning Design และ Game Design มืออาชีพที่ผ่านการทำ Gamification มาแล้วกว่า 100 องค์กร ผลิตขึ้นมาในรูปแบบของบอร์ดเกม เครื่องมือเกรดพรีเมียม
หากสนใจบริการ สามารถติดต่อเข้ามาได้ที่ https://swiy.co/fgoU หรือโทร 094-191-4626