Digital Literacy คืออะไร ? ทักษะสำคัญของคนยุคดิจิทัลที่ต้องรู้ทัน
Digital literacy คืออะไร? เข้าใจความสามารถทางดิจิทัลที่ขาดไม่ได้ต่อการทำงานและการใช้ชีวิตในยุคปัจจุบัน เจาะลึกข้อดีและประเภทของ Digital Literacy
Digital Literacy คืออะไร ? ทักษะสำคัญของคนยุคดิจิทัลที่ต้องรู้ทัน
เมื่อเทคโนโลยียังเข้ามามีบทบาทในโลกแห่งการทำงาน ทั้งในด้านการใช้ชีวิตและการทำงาน “Digital literacy” จึงกลายมาเป็นเรื่องสำคัญ แล้ว Digital literacy คืออะไรกันแน่?
Digital Literacy ย่อมไม่ใช่เพียงความสามารถทางด้านการใช้คอมพิวเตอร์อย่างที่หลายคนเข้าใจ ทาง BASE playhouse จะพาทุกคนไปเข้าใจกับคำ ๆ นี้ และเจาะลึกว่า Digital literacy คืออะไร มีอะไรบ้าง และมีข้อดีอย่างไร
Digital Literacy คืออะไร? ส่งผลต่อคนทำงานอย่างไร?
จริง ๆ แล้ว Digital Literacy คือ ความรู้ ความเข้าใจ ตลอดจนความสามารถในการใช้เครื่องมือ
ด้านเทคโนโลยีในโลกดิจิทัลอย่างเหมาะสม เช่น หากจะ Video Conference กับทางลูกค้า
แล้วมีความสามารถในการใช้ Zoom หรือ Google Meet ก็จะส่งผลให้สะดวกสบายมากขึ้น การเสนองานราบรื่น รวมทั้งสามารถเลือกใช้โปรแกรมที่เหมาะสมต่อความถนัดของลูกค้าก็จะช่วยสร้างความประทับใจได้อีกด้วย
Digital literacy ยังครอบคลุมไปถึงการใช้เครื่องมือทางดิจิทัล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เช่น การใช้เครื่องมือหรือแอปพลิเคชันในการวิเคราะห์ข้อมูล หรือสร้างผลงานที่จับต้องได้จากไอเดียที่มี
นอกจากนี้ Digital Literacy ยังรวมไปถึงความสามารถในการประเมินข้อมูลที่ได้รับจากสื่อต่าง ๆ และการตระหนักรู้ถึงความเสี่ยงหรืออันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ในยุคดิจิทัลด้วย
Digital Literacy มีอะไรบ้าง? 5 ประเภทของ Digital Literacy ที่สำคัญต่อการทำงาน
เรียนรู้กันไปแล้วว่า Digital Literacy คืออะไร ในส่วนนี้ เราลองมาเจาะลึกกับ Digital Literacy ทั้ง 5 ประเภท เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจให้มากขึ้น และนำไปปรับใช้ในชีวิตยุคดิจิทัลอย่างเหมาะสม
1. ความรู้ด้านข้อมูล (Information Literacy) คนในยุคดิจิทัลต้องมีความสามารถในการค้นหาข้อมูล และรู้จักประเมินข้อมูลอย่างมีวิจารณญาณว่าสิ่งที่ได้รับมามีความน่าเชื่อถือ หรือเป็นเรื่องบิดเบือน
2. ความรู้ด้านสื่อ (Media Literacy) สามารถตีความจากสื่อ เช่น ภาพ วิดีโอ หรือแม้กระทั่งบทความต่าง ๆ ที่ทำการเผยแพร่ว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ และสื่อเหล่านั้นน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด
3. การสื่อสารและการทำงานร่วมกัน (Communication & Collaboration ) ในปัจจุบันที่ข้อมูล ข่าวสาร และการทำงานต่าง ๆ ถูกอัพโหลดขึ้นไปเป็นดิจิทัล ความเชี่ยวชาญในการใช้ tools หรือ ตัวช่วยต่าง ๆ ในการสื่อสารจึงกลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก อาทิ เช่น การรู้จักซอฟต์แวร์ แพลตฟอร์ม หรือ แอปพลิเคชันต่าง ๆ ในทำงานกับคนในทีมหรือต่างทีม ซึ่งการใช้ tools เหล่านี้ได้อย่างคล่องแคล่วก็จะช่วยการติดต่อสื่อสารในการทำงานร่วมกันมีความราบรื่น และมีประสิทธิภาพ
4. ความตระหนักด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity Awareness) ความปลอดภัยเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอย่างมากในยุคที่ข้อมูลสามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว เราจึงต้องรู้จักการเก็บรักษาข้อมูลส่วนตัว รวมถึงข้อมูลขององค์กรไม่ให้รั่วไหล โดยควรมีทักษะพื้นฐานอย่างเช่น การตั้งค่ารหัสผ่าน รวมถึงความรู้ในแง่ปฏิบัติเพื่อป้องกันไม่ให้ข้อมูลรั่วไหล หรือสูญหาย
5. ทักษะการเขียนโค้ดและการคิดเชิงคำนวณ (Coding & Computational Thinking) ประเภทสุดท้ายนี้นับว่าเป็นความรู้ที่ต้องใช้การฝึกฝนพิเศษ เช่น การเขียนโค้ด นอกจากนี้ หากมีทักษะการคิดเชิงคำนวณได้อย่างเหมาะสมก็จะทำให้สามารถสร้างคอนเทนต์ รวมถึงอัลกอริทึมที่เหมาะสมต่อกลุ่มเป้าหมายได้ตรงจุด
โดย Digital Literacy ทั้ง 5 ประเภทได้อย่างดี ก็จะเป็นจุดสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและเพิ่มโอกาสใหม่ ๆ ในยุคดิจิทัลได้อีกหลายช่องทาง
ข้อดีของ Digital Literacy คืออะไร ?
สำหรับใครที่ยังลังเลไม่อยากปรับตัว หรือมีความคิดว่า ทักษะทางด้านดิจิทัลไม่ได้มีนัยยะสำคัญอะไรขนานั้น ลองมาดู ข้อดีของ Digital Literacy กันก่อนว่ามีอะไรบ้าง
1. เข้าถึงข้อมูลและบริการได้สะดวกกว่าที่เคย ไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงด้านการบริการสุขภาพ
ทางไกล ด้านธนาคารที่สามารถทำธุรกรรมผ่านโมบายแบงค์กิ้ง ซึ่งสะดวกเพียงปลายนิ้วสัมผัส
สะท้อนชัดเจนว่ามีส่วนช่วยให้ผู้คนเข้าถึงกันได้ง่าย และช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น
2. สื่อสารที่รวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์ และไร้ขอบเขต คนที่สามารถใช้เครื่องมือดิจิทัลจะสามารถสื่อสารกับครอบครัว เพื่อน หรือแม้กระทั่งเพื่อนร่วมงานได้อย่างทันท่วงที ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของวิดีโอ การส่งข้อความ หรือแม้กระทั่งการประชุมผ่านออนไลน์ที่ไม่ว่าจะอยู่ตรงไหนก็ติดต่อกันได้
ส่งผลต่อการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น
3. โอกาสในหน้าที่การเงินเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันผู้ว่าจ้างงานต้องการบุคคลที่มีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์พื้นฐาน ทักษะการวิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงมีความสามารถในการใช้เครื่องมือดิจิทัล
ที่หลากหลาย เนื่องจากนายจ้างเล็งเห็นว่าสามารถนำความรู้พื้นฐานที่มีไปปรับใช้ทักษะกับชิ้นงานใหม่ ๆ
ได้อีกในภายภาคหน้า
4. ส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาและพัฒนาตัวเอง เพราะโลกของเรากำลังพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว และคนทำงานจึงไม่ควรหยุดที่จะศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเอง ซึ่งเราก็สามารถที่จะเรียนรู้ผ่านทางออนไลน์ได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน เมื่อไหร่ก็ได้ นับเป็นการยกระดับการเรียนรู้ตลอดชีวิตอีกด้วย
จากที่กล่าวมาจะเห็นว่า Digital Literacy มีความสำคัญอย่างยิ่ง ดังนั้นจึงถึงเวลาแล้วที่จะเริ่มพัฒนาศักยภาพ และความรู้ทางด้านนี้ให้เพิ่มขึ้นเพื่อรับมือต่อสถานการณ์สังคมปัจจุบัน
วิธีการพัฒนา Digital Literacy ฉบับทำได้แน่! แค่ลงมือทำ
หากต้องการพัฒนาตนเอง หรือแม้กระทั่งในการพัฒนาองค์กรให้ก้าวทันยุคดิจิทัล การส่งเสริมความรู้เรื่อง Digital Literacy จึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม และควรลงมือให้ไวที่สุด โดยมีวิธีการ ดังนี้
1. กำหนดตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาทักษะด้านไหน การกำหนดเป้าหมายก็ถือเป็นสิ่งสำคัญเสมอ เพราะเป้าหมายจะทำหน้าที่เป็นเหมือนเข็มทิศในการออกแบบวิธีการเรียนรู้ เช่น หากเป้าหมายขององค์กรคือ ต้องการคนในทีมมีทักษะในการใช้ Project Management tools ตัวใดตัวหนึ่งมากขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกับการทำงานร่วมกัน วิธีการฝึกหรือการเรียนรู้ก็ควรจะสอดคล้องกับเป้าหมายนี้ด้วย เช่น จัด Session เพื่อให้ทุกคนได้ลองใช้ Tool ตัวนั้น หรือมีการสอนแบบ Walk-through เป็นต้น
2. วางกลยุทธ์ที่เหมาะสม โดยเน้นการวางกลยุทธ์การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่ฝึกอบรมด้าน Digital Literacy เพียงครั้งเดียว เนื่องจากไม่เพียงพอต่อการสร้างความรู้ความเข้าใจได้ รวมถึงควรมีการส่งเสริมทักษะทางด้านดิจิทัลด้านอื่น ๆ ที่คนในองค์กรให้ความสนใจด้วยก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
ที่ดีขึ้น
3. ประยุกต์ให้การเรียนมีหลากหลายรูปแบบ เนื่องจากแต่ละบุคคลมีความถนัดในการเรียนรู้แตกต่างกันไป บางคนถนัดเรียนรู้จากการฟังเสียง บางคนเรียนรู้ไวจากการอ่าน หรือแม้กระทั่งบางคนจะเข้าใจ เมื่อได้รับชมสื่อการเรียนการสอนจากวิดีโอ ดังนั้นพยายามปรับรูปแบบการเรียนรู้ให้หลากหลาย
เพื่อที่จะสามารถค้นพบวิธีการที่ดีที่สุดในการทำความเข้าใจ Digital Literacy
4. ประเมินผล แน่นอนว่า ทุกการเรียนรู้ ควรตามมาด้วยการติดตามวัดผลว่าตรงตามเป้าหมายที่วางเอาไว้หรือไม่ ซึ่งการประเมินสามารถทำได้ทันทีหลังจากจบการเรียน และอาจจะมีการประเมินอย่างต่อเนื่อง
เพื่อทดสอบความเข้าใจในการลงมือทำจริงในระยะยาวด้วย เช่น ทุก 6 เดือน หรือ ทุก 1 ปี
Digital Literacy นับว่ามีความสำคัญในสังคมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในด้านการทำงาน
ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นคน Generation ไหนในยุคดิจิทัล ถึงเวลาแล้วที่จะต้องปรับตัวเดินไปข้างหน้าด้วยกัน
เพื่อประสิทธิภาพการใช้ชีวิตที่ดีกว่าเดิม
อ้างอิงข้อมูล
- Digital Literacy ทักษะความสามารถสำหรับการรู้ดิจิทัลสำคัญอย่างไรต่อองค์กรของเรา, Jobsdb by seek
- Digital Literacy: Why, how and future, LinkedIn
- รู้จัก “Digital Literacy” ทักษะนี้คืออะไร ในวันที่ทุกคนต้องมี, Plearnเพลิน by krungsri GURU
- What are the 5 Types of Digital Literacy?, eSCHOOL NEWS
- The Importance of Digital Literacy in the Modern World, LinkedIn
- 4 Key Elements of Successful Digital Literacy in the Workplace, Built In